ข้อบังคับของบริษัท
จรรยาบรรณธุรกิจ
จรรยาบรรณ และ แนวทางปฏิบัติสำหรับคู่ค้า
นโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
แนวทางปฏิบัติตามนโยบายต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชั่น
นโยบาย หลักเกณฑ์ วิธีการสรรหา และพิจารณาค่าตอบแทนกรรมการและผู้บริหารระดับสูง
การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล

จรรยาบรรณนักลงทุนสัมพันธ์

1. การเปิดเผยข้อมูลที่สำคัญและจำเป็น อย่างถูกต้อง เพียงพอ และทันเวลา
  • ต้องเปิดเผยข้อมูลที่ถูกต้อง เพียงพอ และทันเวลา โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดของหน่วยงานทางการ เช่น สำนักงาน ก.ล.ต. และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
  • ควรใช้วิจารณญาณในการให้ข้อมูลต่างๆ โดยนักลงทุนสัมพันธ์สามารถปฏิเสธที่จะให้ข้อมูลได้หากพิจารณาแล้วเห็นว่า ข้อมูลดังกล่าวเป็นความลับทางการค้า
  • การชี้แจงข้อมูลหรือเหตุผลที่ทำให้ผลการดำเนินงานของบริษัทเปลี่ยนแปลงมากกว่าร้อยละ 20 และ/ หรือ ข้อมูลใน MD&A ควรมีคำอธิบายที่ชัดเจนทำให้เข้าใจถึงที่มาที่ไปและเหตุผลของการเปลี่ยนแปลง
  • ในกรณีที่มีข่าวลือหรือข่าวรั่ว นักลงทุนสัมพันธ์ควรรีบดำเนินการชี้แจงข้อเท็จจริงแก่สาธารณะ โดยปฏิบัติตามข้อกำหนดของตลาดหลักทรัพย์เกี่ยวกับการเปิดเผยสารสนเทศของบริษัทจดทะเบียน
  • นักลงทุนสัมพันธ์ต้องไม่เปิดเผยข้อมูลที่ไม่ถูกต้อง ด้วยเจตนารมณ์ในการผลักดันให้มีการซื้อหุ้นของบริษัท
  • นักลงทุนสัมพันธ์กำหนดช่องทางการเปิดเผยข้อมูลให้กับผู้ใช้ข้อมูลได้รับทราบอย่างเท่าเทียมกัน ดังนี้
    1. เปิดเผยผ่านช่องทางตลาดหลักทรัพย์
    2. เปิดเผยผ่านเวบไซด์ของบริษัท
    3. เปิดเผยผ่าน 56-1 และ 56-2
    4. เปิดเผยผ่านสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ
  • หัวหน้าส่วนนักลงทุนสัมพันธ์เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงข้อมูลภายในได้ และต้องไม่เปิดเผยข้อมูลดังกล่าวให้บุคคลอื่นหรือผู้ลงทุนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งทราบจนกว่าจะมีการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะตามกฎเกณฑ์ต่างๆ และต้องปฎิบัติตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการดูแลข้อมูลภายในให้ถูกต้องอย่างเคร่งครัด
  • บริษัทฯ ได้กำหนดมิให้นักลงทุนสัมพันธ์ ซื้อขายหลักทรัพย์ของบริษัทฯ ในช่วงระยะเวลา 1 เดือนก่อนการเปิดเผยงบการเงินให้แก่สาธารณชนทราบ
  • บริษัทฯ ได้กำหนดช่วงเวลางดรับนัดหรือตอบคำถามเกี่ยวกับผลประกอบการในอนาคตอันใกล้ให้แก่นักวิเคราะห์และนักลงทุน(Quiet Period) รวมถึงการจัดประชุมนักวิเคราะห์ การจัด Site Visit 2 สัปดาห์ ก่อนเปิดเผยงบการเงิน
  • นักลงทุนสัมพันธ์ ควรระมัดระวังการใช้ข้อมูล โดยต้องไม่ให้ข้อมูลใดๆ ที่มีข้อกำหนดห้ามไว้ เช่น ตัวเลขประมาณการรายได้และกำไรของงวดการเงินนั้นๆ
  • นักลงทุนสัมพันธ์ได้เปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียมีโอกาสเข้าถึงข้อมูลอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ทำให้ฝ่ายใดเสียเปรียบหรือเสียโอกาสในการลงทุน และเปิดโอกาสให้สอบถามข้อสงสัยได้ตามตามเหมาะสมโดยไม่เลือกปฏิบัติที่จะติดต่อเฉพาะบุคคลกลุ่มใดเป็นพิเศษ
  • นำข้อมูลที่นำเสนอในการประชุมเฉพาะกลุ่มให้สาธารณะรับทราบโดยทั่วกัน โดยนำ Present ต่างๆ เผยแพร่บนเวบไซด์ของบริษัทภายหลังจากการประชุมเสร็จสิ้นโดยเร็ว
  • นักลงทุนสัมพันธ์ควรใช้ความระมัดระวังในการสื่อสารข้อมูลผ่านทางเครือข่ายทางสังคม หากพบประเด็นที่ก่อให้เกิดความเข้าใจผิดควรชี้แจงข้อมูลผ่านทางระบบตลาดหลักทรัพย์ฯ
  • นักลงทุนสัมพันธ์ควรปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียแต่ละกลุ่ม ดังนี้
    1. การปฏิบัติต่อนักลงทุน
      • ควรปฏิบัติต่อนักลงทุนทุกรายอย่างเท่าเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนรายใหญ่หรือรายเล็ก
      • ควรให้โอกาสแก่นักลงทุนรายบุคคลได้เข้าถึงข้อมูลในระดับที่เท่าเทียมกับนักวิเคราะห์และนักลงทุนสถาบัน
      • ข้อมูลที่นำเสนอแก่การรับนัดประชุม (One-on-One Meeting) กับนักลงทุนสถาบันหรือกลุ่มนักลงทุน ต้องนำขึ้นเวบไซด์หลังประชุมเสร็จสิ้นโดยเร็ว
      • ในการจัดกิจกรรมให้แก่นักลงทุน เช่นการเยี่ยมชมกิจการ และการพบปะนักลงทุน ควรดำเนินการโดยพิจารณาถึงประโยชน์ของบริษัทและความคุ้มค่าเป็นที่ตั้ง
    2. การปฏิบัติต่อนักวิเคราะห์
      • ในการจัดประชุมนักวิเคราะห์(Analyst Meeting) นักลงทุนสัมพันธ์เชิญและเปิดโอกาศให้นักวิเคราะห์จากทุกบริษัทหลักทรัพย์ได้เข้าร่วมอย่างเท่าเทียมกัน
      • นักลงทุนสัมพันธ์ไม่ควรให้สิ่งของตอบแทนหรือของขวัญแก่นักวิเคราะห์เพื่อจูงใจหรือโน้มน้าวให้เขียนบทวิเคราะห์ให้แก่บริษัท และควรให้ความเคารพในผลงานและความเห็นของนักวิเคราะห์ แต่สามารถชี้แจงข้อเท็จจริงที่ถูกต้องได้ หากเห็นว่ามีการใช้ข้อมูลคลาดเคลื่อน
    3. การปฏิบัติต่อสื่อมวลชน
      • ควรให้ข้อมูลและเปิดโอกาสให้สื่อมวลชนได้รับทราบข้อมูลตามความเหมาะสม
      • ไม่ควรใช้เงื่อนไขในการทำธุรกิจกับสื่อมวลชน เช่นการลงโฆษณาในสื่อเพื่อให้สื่อมวลชนนำเสนอข่าวหรือให้ความเห็นในเชิงบวกแก่บริษัท
      • ไม่ควรให้สิ่งของตอบแทนหรือของขวัญแก่สื่อมวลชน เพื่อจูงใจให้สื่อมวลชน เขียนบทความข่าวให้แก่บริษัทในเชิงสร้างข่าวที่ไม่เป็นจริง
    4. การปฏิบัติต่อหน่วยงานทางการ
      • ควรให้ความร่วมมือในการให้ข้อมูลแก่หน่วยงานทางการตามที่ถูกร้องขอ
      • ไม่ควรให้ของขวัญแก่เจ้าหน้าที่ของหน่วยงานทางการเพื่อให้ความช่วยเหลือใด ๆ เป็นกรณีพิเศษ
    5. การปฏิบัติต่อบุคคลในองค์กร
      • ควรประสานงานให้ผู้บริหารของบริษัทได้พบปะกับผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ ตามโอกาสที่สมควร
      • จัดทำรายงานให้คณะกรรมการและผู้บริหารได้รับทราบถึงข้อมูลต่างๆ ที่จะช่วยสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่องค์กร เช่น ผลการดำเนินกิจกรรมด้านนักลงทุนสัมพันธ์ ความเห็นจากนักวิเคราะห์และนักลงทุน และข้อมูลความเคลื่อนไหวในตลาดทุนเป็นต้น
      • ควรเป็นสื่อกลางของบริษัท ในการสื่อสารให้พนักงานในองค์กรได้รับทราบถึงจรรยาบรรณนักลงทุนสัมพันธ์ เพื่อให้พนักงานได้มีส่วนร่วมในการปฏิบัติเช่นเดียวกันกับ นักลงทุนสัมพันธ์ เช่น เรื่องการดูแลและรักษาข้อมูลภายใน
    6. การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ เช่น สถาบันการเงินและบริษัท Credit Rating
      • ควรให้ข้อมูลแก่ผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ ในระดับที่เท่าเทียมกัน ยกเว้นแต่มีความจำเป็นอื่นใดในการดำเนินธุรกิจ เช่น ต้องให้ข้อมูลภายในประกอบการขอสินเชื่อ โครงการจากสถาบันการเงิน ในกรณีนี้ นักลงทุนสัมพันธ์ต้องดำเนินการด้วยความระมัดระวังและต้องขอให้ผู้ที่ได้รับข้อมูลภายในลงนามในสัญญารักษาความลับไว้ด้วย
  • หลีกเลี่ยงการกระทำใด ๆ อันเป็นการขัดต่อผลประโยชน์ของบริษัท เช่น การใช้ทรัพย์สินหรือข้อมูลของบริษัทเพื่อประโยชน์ส่วนตน
  • ไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนจากความสัมพันธ์และข้อมูลที่ได้จากการทำหน้าที่นักลงทุนสัมพันธ์
  • ต้องไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตน ไม่ว่าจะเป็นในรูปแบบใดก็ตาม ในการเลือกดำเนินกิจกรรมหรือเข้าร่วมกิจกรรมกับหน่วยงานภายนอก เช่น การเลือกเข้าร่วม Road Show กับบริษัทเฉพาะบางบริษัทหลักทรัพย์ที่ให้สิทธิประโยชน์พิเศษบางอย่าง เป็นต้น
  • พึงปฏิบัติหน้าที่ตามนโยบายและจรรยาบรรณพนักงานต่างๆ ที่บริษัทได้กำหนดไว้
  • ควรแต่งกายให้เหมาะสมกับสถานที่และกิจกรรมที่เข้าร่วม
  • ไม่ควรให้ข้อมูลในเชิงลบหรือให้ร้ายแก่บริษัทคู่แข่งหรือผู้มีส่วนได้เสียต่างๆ